ใบอนุญาต เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการคัดกรองเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเช่นเดียวกับคุณสมบัติ รปภ ตามกฎหมาย เพื่อความถูกต้องตามกฎหมายและทำให้เจ้าหน้าที่มีความสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากที่สุด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มีใบอนุญาตมักจะถูกคัดกรองผ่านบริษัทรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ ซึ่งทางบริษัทเองก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง ใบอนุญาต รปภ มีอะไรบ้างที่กฎหมายกำหนด
ใบอนุญาต รปภ ธภ.12 ใบผ่านการฝึกอบรม
ใบอนุญาต ธภ.12 คือหนังสือรับรองการผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์อบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นใบอนุญาตใบหนึ่งเพื่อใช้ประกอบการขอใบอนุญาตการเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
การจะได้ใบอนุญาต ธภ.12 ต้องผ่านการอบรมอย่างไรบ้าง? ศูนย์ฝึกอบรมที่มีมาตรฐานรองรับและถูกต้องตามพรบ. ธุรกิจรักษาความปลอดภัย ปี พ.ศ. 2558 จะมีวิธีการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและมีการคัดกรองกันอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผู้ฝึกได้ใบอนุญาติเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักการและทำให้เจ้าหน้าที่สามารถรักษาความปลอดภัยได้อย่างมืออาชีพ ซึ่งจะมีการอบรมและฝึกฝน 40 ชั่วโมง 4 วัน โดยมีการอบรมคร่าว ๆ ดังนี้
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย
3. การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
4. พื้นฐานการเขียนรายงาน
5. การเตรียมพร้อมในกรณที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเหตุฉุกเฉิน
6. วิธีการสื่อสารทุกรูปแบบ
7. หลักการใช้กำลัง ขอบเขตและการพิจารณาใช้กำลัง
8. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ต้องรู้
9. การจัดการจราจร
10. การฝึกภาคสนาม รวมถึงการฝึกรับมือจากเคสกรณีศึกษาด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการของการเป็นรปภ รายได้ และกฎระเบียบต่าง ๆ สำหรับบริษัทรักษาความปลอดภัย ก็เป็นสิ่งที่สอดแทรกอยู่ในการอบรมด้วยเช่นกัน
ใบอนุญาต รปภ ธภ.6 ใบขอรับอนุญาต
ใบ ธภ.6 เป็นคำขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต เป็นใบหนึ่งที่ใช้แนบและยื่นร่วมกับใบอนุญาติผ่านการฝึกอบรม สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย สำเนาวุฒิการศึกษาสูงสุดในภาคบังคับ ใบรับรองแพทย์ว่าไม่ป่วยเป็นพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดตามที่คณะกรรมการกำหนด
ใบอนุญาต รปภ ธภ.7 ใบอนุญาตการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย
ใบ ธภ.7 คือใบอนุญาตการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยอนุญาต ที่ได้รับการรับรองและเป็นใบเบิกทางสำหรับการทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย
ในการประกอบขอใบธภ.7 ต้องผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและได้รับใบธภ.12 มาก่อน หลังจากนั้น เมื่อไปยื่นต่อพนักงาน ก็ต้องมีการแนบใบธภ.6 และเอกสารที่ต้องใช้ และแนบใบธภ.12 เพื่อประกอบการพิจารณาในการขอใบอนุญาต ธภ.7
หลังจากที่ได้ใบอนุญาตการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ธภ.7 มาแล้ว พนักงานรักษาความปลอดภัยจะมีเครื่องหมายประดับพปร. หรือเครื่องหมายพนักงานรักษาความปลอดภัยอนุญาตติดอยู่ที่บริเวณหน้าอกซ้าย
ใบอนุญาต ธภ.7 มีอายุกี่ปี?
มีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต ธภ.7 เพราะฉะนั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเข้ารับการต่ออายุทุก ๆ 3 ปี ภายใน 60 วันก่อนวันที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ
จ้าง รปภ กับบริษัทรักษาความปลอดภัย หายห่วงเรื่องกฎหมาย
หากพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่มีใบอนุญาต ธภ.7 จะถูกจำคุก 3 เดือน ปรับไม่เกิน 3,000 บาท นอกจากนี้ หากพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่มีประสิทธิภาพ หรือกระทำการฝ่าฝืนหรือมีความผิดร้ายแรง เช่น มีอาการเมาสุราหรือเสพสารเสพติด จะถูกพ้นหน้าที่อย่างทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ การจ้าง รปภ ที่มีใบอนุญาตธภ.7 และการอบรม ฝึกฝนจากศูนย์อบรมของบริษัทรักษาความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การคัดเลือกพนักงานรักษาความปลอดภัยถูกต้องตามกฎหมาย และคัดกรองคุณสมบัติของการเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ดี มีศักยภาพ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ่านบทความเพิ่มเติม :
อารักขาบุคคลสำคัญ สำคัญอย่างไร บอดี้การ์ด จำเป็นแค่ไหน