02 115 0526 – 7

063-370-8777

อะไรก็ตามที่ดูน่าสงสัย ดูไม่ปกติ ไม่ควรถูกวางอยู่ตรงนั้น หรือเป็นวัตถุที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน ก่อนที่เราจะเดินเข้าไปใกล้ ๆ เราควรคิดถึงอะไรหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย เพราะวัตถุนั้นอาจเป็นวัตถุอันตรายถึงชีวิตได้ ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ วัตถุต้องสงสัย สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ต้องทำอย่างไร? และถ้าหากคนปกติที่เดินไปมาเจอวัตถุนั้น ควรทำอย่างไร? เรามีคำตอบ

วัตถุต้องสงสัย หน้าตาเป็นอย่างไร?

วัตถุต้องสงสัยอาจมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากพบวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ลักษณะเหล่านี้ ก็อาจเป็นวัตถุที่ต้องเลี่ยง

  • วัตถุที่วางอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ปกติ หรือพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น เช่น พื้นที่สารธารณะ พื้นที่ใกล้กับอาคาร ฯลฯ
  • วัตถุอาจห่อด้วยเทป สายไฟ หรือพลาสติก รวมถึงอาจมีเครื่องหมายแปลก ๆ นอกจากนี้ก็อาจเป็นวัตถุที่อยู่ในกล่อง กระเป๋า หรือกระเป๋าเดินทาง
  • วัตถุที่มีสายไฟ แบตเตอรี่ แผงวงจร ซึ่งวัตถุที่ว่าอาจเป็นวัตถุอันตรายอย่างวัตถุระเบิดได้
  • สิ่งกลิ่นเหม็น อาจได้กลิ่นเคมีแปลก ๆ หรือกลิ่นก๊าซ ซึ่งเป็นลักษณะที่อันตราย
  • วัตถุที่มีคราบมันหรือเริ่มเปลี่ยนสี อาจเป็นวัตถุที่มีสารกัดกร่อน
  • วัตถุที่มีเสียง เช่น เสียงกระพริบ หรือเสียงที่ดูเหมือนมาจากกลไกของวัตถุ อาจเป็นวัตถุที่อันตรายได้
รปภ วัตถุต้องสงสัย

หากเจ้าหน้าที่ รปภ พบเจอวัตถุต้องสงสัย ควรทำอย่างไร?

มาตรการสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เมื่อตรวจพบเจอวัตถุต้องสงสัย สิ่งที่ต้องทำสำหรับเจ้าหน้าที่ รปภ จะมีดังนี้

1. ห้ามจับหรือขยับวัตถุเป็นอันขาด

ห้ามสัมผัส เคลื่อนย้าย หรือเดินเข้าไปใกล้กับวัตถุอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นวัตถุที่อ่อนไหวและทำให้เกิดอันตรายได้หากไม่ระวังให้มากพอ

2. สร้างขอบเขต กันไม่ให้คนใกล้เคียงเข้าใกล้

อพยพออกจากบริเวณที่พบเจอวัตถุ โดยการคุมคนออกจากพื้นที่ใกล้เคียงออกไปในระยะที่ไกลเหมาะสม ใช้สิ่งกีดขวางหรือเทปพันหากทำได้ นอกจากนี้ก็คอยรักษาความสงบ สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนรอบข้าง

3. แจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ

ติดต่อเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินอย่างทันที เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับวัตถุ ลักษณะที่ปรากฎ ความเป็นไปได้ ผู้ต้องสงสัย หรือให้ภาพกล้องวงจรปิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

4. ควบคุมการเข้าถึงพื้นที่

ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมพื้นที่ไม่ให้คนใกล้เคียง พนักงาน หรือผู้ที่สัญจรไปมาเข้าใกล้กับวัตถุ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. สังเกตการณ์จากระยะที่ปลอดภัย

ติดตามสถานการณ์จากระยะที่ปลอดภัยจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึง จดบันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ยานพาหาหนะต้องสงสัย ผู้ต้องสงสัยที่อาจเกี่ยวข้องกับวัตถุนั้น และส่งต่อข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ

 6. จดบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน

บันทึกรายละเอียด จดบันทึกรายงานเหตุการณ์ประจำวันสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเวลา สถานที่ คำอธิบายของวัตถุ การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับวัตถุ รวมถึงติดตามการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และให้ความสบายใจสำหรับคนที่สัญจรไปมา พนักงาน หรือคนที่อยู่ใกล้ ๆ พื้นที่วัตถุต้องสงสัย

หากคนทั่วไปพบเจอวัตถุต้องสงสัย ควรทำอย่างไร?

หากประชาชนทั่วไปพบเจอวัตถุต้องสงสัย สิ่งที่ควรทำคือไม่ควรสัมผัสและเคลื่อนย้ายวัตถุ และออกจากพื้นที่ใกล้เคียงทันที และทำการโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉินให้เข้ามาระงับเหตุและจัดการกับวัตถุ บอกตำแหน่งให้กับเจ้าหน้าที่ และหลีกเลี่ยงการแตกตื่นหรือความแออัดในพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

วัตถุต้องสงสัย กล่าวโดยสรุปคือไม่ควรเข้าใกล้เลยเด็ดขาด ถึงแม้จะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหรือประชาชนทั่วไป เพราะอันตรายจากวัตถุเหล่านั้นอาจเกิดขึ้นได้ ให้รอเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาปฏิบัติหน้าที่และออกจากระยะพื้นที่ให้ไกลที่สุด


อ่านบทความเพิ่มเติม :

7 หน้าที่ของ รปภ โรงงาน เพื่อความปลอดภัยของผู้คนและทรัพย์สิน

10 มาตรฐานการทำงาน รปภ ที่เจ้าหน้าที่ต้องมีเพื่อความปลอดภัย

อบรม รปภ ที่ไหน เพื่อมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยระดับมืออาชีพ

อีเมลหาเรา
พูดคุยผ่าน Line
โทรหาเรา