เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติ รปภ ที่ดีแล้ว ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่มีความกดดันและต้องพบเจอกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัย ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต รวมถึงสุขภาพกายได้ด้วยเมื่อต้องทำงานเป็นเวลานาน ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง ความเสี่ยงในอาชีพ รปภ ว่ามีอะไรบ้าง การจะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะมีวิธีการรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างไร เพื่อให้ทั้งเจ้าหน้าที่และคนที่อยากเป็นสามารถทำงานรักษาความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรับมือได้อย่างดี
ความเสี่ยงในอาชีพ รปภ มีอะไรบ้าง?
ก่อนจะได้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ทุกคนต้องได้รับการฝึกอบรม รปภ มาอย่างดี และจะสังเกตได้ว่าการอบรมเหล่านั้น ล้วนเป็นการอบรมด้านการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อันตรายหรือมีความเสี่ยงทั้งนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่จะต้องสามารถรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้น ซึ่งความเสี่ยงในอาชีพ รปภ จะมีดังนี้
อาจถูกทำร้ายร่างกายได้
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอาจต้องรับมือกับบุคคลที่มีความก้าวร้าว มีอาการมึนเมา หรือมีเจตนาที่จะทำร้ายร่างกาย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะปล่อยไว้ไม่ได้ เพราะอาจทำให้ความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินมีความเสี่ยง เลยเป็นหน้าที่หนึ่งที่เจ้าหน้าที่จะต้องเข้าไประงับเหตุการณ์ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายร่างกาย
ภัยคุกคามจากอาวุธ
ในพื้นที่อย่างธนาคาร ร้านขายทองขายเครื่องประดับราคาแพง หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงจะถูกปล้นสูง คนร้ายอาจพกปืนมาด้วย รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ อย่างห้างที่เคยมีข่าวกราดยิง ถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ก็ถือเป็นความเสี่ยงของการเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่อาจต้องเผชิญ
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุภายใน
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอาจต้องทำงานในโรงงานที่มีเครื่องจักรหรือสารเคมีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์อันตรายได้ ทำให้ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงานที่มีความแน่นหนาสูงเพื่อลดอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุด้านการจราจร
เจ้าหน้าที่ในหลายพื้นที่อาจต้องมีการดูแลด้านการจราจร โดยเฉพาะบริเวณหน้าหมู่บ้านที่มีการจราจรอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นความเสี่ยงในอาชีพ รปภ อย่างหนึ่งที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ แม้จะมีความระมัดระวังที่ดีแล้วก็ตาม
ปัญหาสุขภาพจิต
ความเสี่ยงในอาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างหนึ่งคือต้องเจอกับสถานการณ์ที่ช่วยเครียดอยู่บ่อยครั้ง และเป็นอาชีพที่ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเพื่ออำนวยความปลอดภัยให้คนอื่นและทรัพย์สิน ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องมีปัญหาสุขภาพจิตใจกันบ้าง
ปัญหาสุขภาพกาย
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมักทำงานเป็นกะ และอาจต้องมีการเปลี่ยนกะอยู่เป็นประจำ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องปรับตัวและอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้เช่นกัน
ความเสี่ยงด้านกฎหมาย
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะตอบโต้ด้านร่างกายไม่ได้หากไม่ถูกทำร้ายก่อน แต่ถ้าสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้เราต้องลงมือก่อน หรืออารมณ์ชั่ววูบพาไป ก็อาจผิดกฎหมาย เสี่ยงต่อความมั่นคงในอาชีพได้ เจ้าหน้าที่เลยมีความจำเป็นต้องควบคุมอารมณ์ รู้กฎหมายเบื้องต้นเป็นอย่างดี
ความเสี่ยงด้านเหตุการณ์ฉุกเฉิน
เหตุเพลิงไหม้ นอกจากจะมีความเสี่ยงต่อทุกคนแล้ว ก็เป็นความเสี่ยงในอาชีพ รปภ ด้วยเช่นกัน เพราะต้องทำหน้าที่ในการอพยพ และอาจต้องออกจากพื้นที่เป็นคนสุดท้ายจนกว่าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะเข้ามาทำหน้าที่
จะมีวิธีการรับมือความเสี่ยงในอาชีพ รปภ ได้อย่างไร?
ความเสี่ยงในอาชีพ รปภ เป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องพบเจออยู่เป็นประจำ ทำให้ต้องเรียนรู้วิธีรับมือ แล้วจะมีวิธีอะไรบ้าง ที่สามารถช่วยรับมือความเสี่ยงได้ไม่มากก็น้อย
- ฟิตร่างกายสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรับมือกับการปรับเวลาเข้ากะและความตื่นตัวในการทำหน้าที่
- อบรมด้านความปลอดภัยเป็นประจำ
- ฝึกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถช่วยรับมือกับความเสี่ยง เช่น ไม้ตะบอง กล้องพกพาติดตัว
- เรียนรู้ทักษะการระงับเหตุ ไม่ว่าจะทางวาจาและทางกำลังเมื่อจำเป็น
- ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ลดโอกาสความเสี่ยงด้านสุขภาพและจิตใจ
- รายงานเหตุการณ์เสี่ยงให้ทีมได้รับรู้ เพื่อแก้ปัญหาและลดความเสี่ยง
ความเสี่ยงในอาชีพ รปภ มีหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากความรุนแรง การใช้อาวุธ อุบัติเหตุ การจราจร ปัญหาสุขภาพกายและใจ ด้านกฎหมาย และด้านภัยฉุกเฉิน ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อการดูแลความปลอดภัยโดยรวม และการมีประกันชีวิตและประกันสังคมที่คอยหนุนหลังด้วยเช่นกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม :
7 หน้าที่ รปภ กลางคืน ทำอะไรบ้าง เพื่อความปลอดภัยยามวิกาล
คุณสมบัติ รปภ. ตามกฎหมาย สิ่งที่เราใส่ใจ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
เป็น รปภ ดีไหม ข้อดี ข้อเสียของอาชีพ รปภ. มีอะไรบ้าง