อาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นอาชีพหนึ่งที่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ รปภ ตามกฎหมาย รวมถึงต้องมีใบอนุญาตในการประกอบอาชีพ เพื่อความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพในการรับรองความปลอดภัยให้กับสถานที่ ผู้อยู่อาศัย และการรับมือกับเหตุฉุกเฉิน สำหรับผู้หญิงที่อยากทำอาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หลายคนที่อยากประกอบอาชีพนี้อาจมีคำถามว่า ผู้หญิง สามารถทำอาชีพนี้ได้ไหม แล้ว รปภ หญิง ทำอะไรบ้าง คุณสมบัติที่ต้องมี มีอะไรบ้าง รายได้แตกต่างจาก รปภ ชายหรือเปล่า? ในบทความนี้มีคำตอบมาให้อย่างครบถ้วน
ผู้หญิง สามารถทำอาชีพ รปภ. ได้ไหม?
ผู้หญิง สามารถทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ และสามารถทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้เหมือนผู้ชาย สังเกตได้จากหลายสถานที่หรือที่พักที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผู้หญิงประจำการอยู่ เช่น หอพักหญิง ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือในบางสถานที่ที่มีความชุกชุมของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
คุณสมบัติของ รปภ หญิง มีอะไรบ้าง?
ก่อนจะรู้ว่า รปภ หญิง ทำอะไรบ้าง ต้องรู้คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหญิง จะมีความเหมือนกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชาย ดังนี้
- เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (18-50 ปี)
- สำเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมาย วุฒิขั้นต่ำระดับประถมศึกษา
- มีหนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย
- มีใบอนุญาต รปภ (ธภ.7)
ลักษณะต้องห้าม
- ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด
- ป่วยเกี่ยวกับโรคทางจิต
- เคยมีประวัติรับโทษจำคุกหรือผิดกฎหมาย คดีอาญาหรือคดีร้ายแรง
- มีประวัติเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ยังไม่ถึง 2 ปีหลังจากขอใบอนุญาต
รปภ หญิง ทำอะไรบ้าง
รปภ หญิง ทำอะไรบ้าง? จริง ๆ แล้ว หน้าที่ของ รปภ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหญิงจะทำหน้าที่เหมือนกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชาย แต่จะมีความแตกต่างอยู่บ้างในบางกรณี อย่างกรณีที่จำเป็นต้องตรวจค้นบุคคลที่เป็นผู้หญิง เพื่อเคารพความเป็นส่วนตัว ด้านจริยธรรม และความเคารพในร่างกายผู้หญิง
หน้าที่ของรปภ หญิง ทำอะไรบ้าง? ความรับผิดชอบหลัก ๆ จะมีดังนี้
- ควบคุมการเข้าถึง ดูแลทางเข้า-ออกในพื้นที่ต่าง ๆ ตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมหรือวัตถุอันตรายที่อาจมีคนพกเข้ามาในพื้นที่ โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นผู้หญิง ระบุตัวตน และควบคุมการเข้าถึงในพื้นที่หวงห้ามต่าง ๆ
- การเฝ้าระวังผ่านกล้องวงจรปิด รปภ หญิง ในหลายที่จะมีหน้าที่ในการสังเกตการณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ ผ่านกล้องวงจรปิด ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหญิงต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการใช้งานกล้องวงจรปิด CCTV
- ลาดตระเวนหรือตรวจตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อตรวจจุดอับในแต่ละสถานที่ รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันกิจกรรมที่อาจเสี่ยงต่อความปลอดภัยหรือผิดกฎหมาย รับรองความปลอดภัยให้กับผู้คนและทรัพย์สิน
- ตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น เตือนเหตุไฟไหม้ ทำการอพยพ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินทางการแพทย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติ รปภ อย่างหนึ่ง เรียกเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินจากภายนอก เช่น รถดับเพลิง ตำรวจ
- บริการผู้มาเยือนหรือลูกค้า เรามักจะเห็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผู้หญิงประจำการอยู่บริเวณทางเข้า-ออก ห้าง ซึ่งผู้หญิงจะมีทักษะการสื่อสาร การให้บริการ การแนะนำผู้มาเยือนหรือลูกค้าได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชายในบางกรณี
- บันทึกเหตุการณ์ รายงานเหตุการณ์ประจำวัน เขียนบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
- ควบคุมฝูงชน เช่น งานอีเว้นท์ งานคอนเสิร์ต โดยเฉพาะงานที่มีผู้หญิงเป็นผู้เข้าร่วมเยอะ
รปภ หญิง รายได้แตกต่างจาก รปภ ชายไหม?
ในเรื่องของรายได้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผู้หญิง จะได้เงินเดือน สิทธิด้านสวัสดิการ และโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งเหมือนกับผู้ชาย ไม่แบ่งว่าผู้ชายจะต้องได้มากกว่าผู้หญิง เพราะมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยเหมือนกัน
สรุป รปภ หญิง ทำอะไรบ้าง?
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผู้หญิงจะเหมือนกับผู้ชาย แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงมากกว่า เช่น การตรวจสอบสัมภาระ ตรวจสอบร่างกายผู้หญิง รวมถึงหน้าที่ด้านการบริการที่เจ้าหน้าที่ผู้หญิงจะมีความละเอียดอ่อน หรือทักษะการสื่อสารที่จำเป็นกว่าผู้ชาย
อ่านบทความเพิ่มเติม :
หางาน รปภ หาจากไหนได้บ้าง หากอยากสมัคร ต้องเตรียมตัวอย่างไร
9 คุณสมบัติ รปภ ที่ดี เพื่อดูแลความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
อบรม รปภ อย่างไรบ้างก่อนปฏิบัติงานจริง เพื่อความปลอดภัยแบบมืออาชีพ