การรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพและการบริการด้านความปลอดภัยสูงสุด อันดับแรก พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องมีคุณสมบัติที่ถูกต้องก่อน เพราะการคัดกรองพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องใส่ใจ เพราะนอกจากจะคัดกรองพนักงานที่มีคุณภาพแล้ว ก็ต้องคัดกรองคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดด้วย แล้วคุณสมบัติ รปภ ตามกฎหมาย มีอะไรบ้าง เพื่อให้งานรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิภาพสูงสุด
คุณสมบัติ รปภ ตามกฎหมาย ต้องมีใบอนุญาต
การรับสมัครพนักงาน รปภ ต้องมีมาตรฐานและไม่ได้รับเข้ามาทำหน้าที่นี้กันง่าย ๆ การจะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างดี นอกจากเรื่องของร่างกาย การอบรม และการเตรียมความพร้อมแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องมีคือใบอนุญาตการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย นอกจากจะเป็นใบเบิกทางที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็เป็นใบเบิกทางที่ทำให้เรารู้ได้ว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยคนนี้มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่เหมาะสำหรับการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ทาง พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย ปีพ.ศ.2558 ได้ระบุไว้ ใบอนุญาตที่ต้องมีคือ ใบอนุญาต ภธ.7 นั่นเอง
คุณสมบัติ รปภ ตามกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่รปภ. ตามกฎหมาย
- เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นอาชีพหนึ่งที่รับเฉพาะคนไทยเท่านั้น คนต่างด้าวไม่สามารถประกอบอาชีพนี้ได้
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับพนักงานรักษาความปลอดภัยเพศชาย จะต้องมีอายุระหว่าง 18-50 ปี (สำหรับบริษัทรักษาความปลอดภัย Premium Group พนักงานรักษาความปลอดภัยเพศหญิง จะต้องมีอายุระหว่าง 20-40 ปี)
- สำเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมาย อธิบายเพิ่มเติมคือวุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับประถามศึกษา ที่สำคัญคือต้องมีทักษะในการอ่าน เขียน และการพูดเป็นอย่างดี
- ได้รับหนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย หรือเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจากหลักสูตรของบริษัทรักษาความปลอดภัย
ลักษณะต้องห้ามที่กฎหมายกำหนด
- โรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติด รวมถึงโรคติดต่อที่ทางคณะกรรมการได้กำหนด
- ป่วยเป็นโรคทางจิต หรือเป็นคนวิกลจริต
- เคยมีประวัติรับโทษจำคุกหรือกระทำผิดกฎหมาย มีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน การพนัน ยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และความผิดทางด้านเพศตามประมวลกฎหมายอาญา (อาจได้รับการยกเว้นหากเป็นความผิดลหุโทษหรือกระทำความผิดโดยประมาท หรือพ้นโทษแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนขอใบอนุญาต ยกเว้นคดีทางเพศที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด ถึงแม้จะผ่านไป 3 ปีแล้ว ก็ไม่สามารถเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยได้อีก)
- มีประวัติเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยมาแล้วยังไม่ถึง 2 ปีหลังจากตอนขอใบอนุญาต
การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของรปภ.
ลักษณะต้องห้ามของการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนดที่ได้อธิบายไปข้างต้น ทำให้การตรวจสอบประวัติของพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ก็เพื่อความถูกต้องทางกฎหมาย ความเป็นมืออาชีพ และความปลอดภัยของทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
เราตรวจประวัติอาชญากรรมของพนักงานรักษาความปลอดภัยอย่างไร?
ทางบริษัทจะมีการตรวจสอบพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยการพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรม หลังจากนั้นจะนำผลการตรวจสอบนี้ไปยื่นเพื่อขอใบอนุญาตการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการคัดกรองผู้ที่ไม่มีประวัติอาชญากรรม หากผู้ใดมีประวัติอาชญากรรม ทางบริษัทของเราจะระงับการว่าจ้าง
การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของพนักงานรักษาความปลอดภัย ตรวจได้ที่ไหน?
1. ตรวจสอบที่กองทะเบียนกลางผู้ประพฤติวินัยร้างแรง
2. ศูนย์ประวัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3. ศูนย์ข้อมูลกลางจากมูลนิธิ รปภ.ไทย
4. จากบริษัทรักษาความปลอดภัยที่พนักงานรักษาความปลอดภัยเคยทำ
คุณสมบัติและข้อห้ามของการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นความสำคัญก้าวแรกของการรักษาความปลอดภัยเลยก็ว่าได้ เพราะความโปร่งใส ไร้มลทินของอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อความปลอดภัยในทุกซอกทุกมุม และบริษัทของเราก็มีการคัดกรองพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี หากพนักงานคนใดมีประวัติร้ายแรง มีคดีติดตัวที่ร้ายแรงขัดต่อจรรยาบรรณการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ทางบริษัทจะสงวนสิทธิ์เข้าเป็นพนักงานทุกกรณี