ความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะพื้นที่การทำงานที่มีเครื่องจักรและสถานที่ทำงานที่มีพนักงานอยู่หลายคนเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและต้องมีกฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่เข้มแข็ง ทุกคนต้องปฏิบัติตาม สถานที่การทำงานที่ว่านี้คือโรงงานที่สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายกันถึงวิธี การป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน นอกจากระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงาน เพื่อมาตรฐานด้านความปลอดภัยแบบสากล คำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงานและทรัพย์สินภายในโรงงาน
อุบัติเหตุในโรงงาน มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง?
อุบัติเหตุในโรงงานสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ พฤติกรรม ความเครียด และระเบียบด้านความปลอดภัยที่ไม่แข็งแรง ทำให้เราต้องรู้จักการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานเป็นอย่างดี
สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในโรงงาน จะมีดังนี้
- การบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ไม่ดี เครื่องจักรเก่าเกินไปหรือมีการชำรุดก็อาจทำให้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรขัดข้องได้ บวกกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ไม่ถูกหลักหรือแทบไม่บำรุงรักษา ก็อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุในโรงงานได้
- ไม่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย หรือพนักงานไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยของโรงงาน
- ไม่มีการอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย พนักงานในโรงงานทุกคนต้องมีการรับรู้ ฝึกฝนด้านความปลอดภัยในโรงงานอยู่เป็นประจำ
- สภาพแวดล้อมการทำงาน พื้นลื่น แสงไฟน้อย เสียงที่ดังจนเกินไปก็อาจเกิดอุบัติเหตุในโรงงานได้
- ไม่ใส่ชุดป้องกันหรือชุด PPE พนักงานไม่มีการใส่หมวก ถุงมือ แว่นตา ซึ่งการสวมใส่ชุดป้องกัน จะเป็นวิธีการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานวิธีหนึ่ง
- การทำงานแบบไม่ได้พักหรือทำงานนานเกินไป อาจทำให้พนักงานอ่อนล้า เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้
- ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หน้าที่ของ รปภ โรงงาน จะรวมไปถึงการดูแลด้านความปลอดภัยในโรงงานโดยรวม และการฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็นอาชีพที่สำคัญ
8 วิธีการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน เพื่อมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีภายในโรงงาน
การป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของพนักงาน ช่วยให้การทำงานราบรื่นและทำให้นายจ้างอุ่นใจ กลยุทธ์การป้องกันอุบัติเหตุ จะมีดังนี้
1. ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้พนักงานเสมอ
การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัยเป็นประจำเกี่ยวกับความเสี่ยงต่าง ๆ อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย และแผนการตอบสนองต่ออุบัติเหตุ รวมถึงความปลอดภัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วยเช่นกัน
2. ตรวจสอบ บำรุงอุปกรณ์และเครื่องจักรสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรในโรงงานขัดข้อง ซึ่งการขัดข้องสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุภายในโรงงานได้ ทำให้การตรวจสอบเป็นการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานวิธีหนึ่ง
3. จัดแผนด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
การสื่อสารด้านความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้พนักงานรับรู้ถึงเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ เพราะโรงงานแต่ละโรงงานแตกต่างกัน บางโรงงานมีวัตถุทางเคมี บางโรงงานมีเครื่องจักรขนาดใหญ่ ทำให้ต้องสื่อสารด้านความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสะอาด เป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัย
สิ่งกีดขวางที่ทางเดิน รวมถึงคราบต่าง ๆ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน ทำให้การรักษาความสะอาด เป็นกฎข้อหนึ่งด้านความปลอดภัย
5. ใช้อุปกรณ์และชุดด้านความปลอดภัย PPE สม่ำเสมอ
ใส่ใจในเรื่องของอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเสมอ อย่าปล่อยปะละเลย เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดได้ทุกเมื่อ ใส่หมวก ใส่ถุงมือ ใส่รองเท้า ในบางโรงงานอาจต้องใส่ชุดด้วยเช่นกัน
6. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
ไฟตรงนี้สว่างพอไหม ราวจับตรงนี้สนิมขึ้นแล้วหรือยัง พื้นตรงนี้มีคราบน้ำมันเยอะเกินไปไหม การปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นเรื่องเล็ก แต่สำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยในโรงงานมากเช่นกัน
7. พร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
การอบรมฝึกซ้อมการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความปลอดภัย เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถรับมือการสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. จ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
การจ้าง รปภ เพื่อปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยในโรงงาน เป็นสิ่งหนึ่งที่นายจ้างหรือเจ้าของโรงงานควรจ้าง เพราะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะทำหน้าที่ตั้งแต่ควบคุมการเข้า-ออกโรงงาน การรักษาความปลอดภัยในโรงงาน การอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย รวมถึงการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโรงงาน
การรู้จักวิธีการรักษาความปลอดภัยในโรงงาน เป็นสิ่งสำคัญทั้งสำหรับนายจ้างและพนักงาน นอกจากนี้ การจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจากบริษัทรักษาความปลอดภัย พรีเมี่ยม กรุ๊ป จำกัด จะได้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มีคุณสมบัติ รปภ ตามกฎหมาย สามารถดูแลความปลอดภัยในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมง
อ่านบทความเพิ่มเติม :
เหตุเพลิงไหม้ สิ่งที่ ต้องทำ และ ห้ามทำ ในที่พักอาศัย อาคาร