การทำงานทุกอย่าง จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย เพราะความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์อันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะการทำงานกับสารเคมีที่เป็นสารอันตราย จำเป็นต้องรู้จักวิธีทำงานกับมันและเข้าใจถึงความปลอดภัยเป็นอย่างดี ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ 10 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ว่ามีอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญ
การทำงานกับสารเคมี มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
เพื่อให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี จำเป็นต้องรู้ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากกับทำงานกับสารเคมีก่อนเป็นอันดับแรก เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความเสี่ยงหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นได้ จะมีดังนี้
- ความเป็นพิษของสารเคมี สารเคมีหลายชนิดมีความเป็นพิศที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้จากการสัมผัส เช่น การสูดดม การสัมผัส หรือการเผลอกลืนกิน และการได้รับสารพิษในระยะยาว จะมีความเสี่ยงสุขภาพสูงมากยิ่งขึ้น
- การเผาไหม้จากสารเคมี สารเคมีหลายชนิดมีความเป็นกรด เป็นด่างสูง อาจทำให้ถูกไหม้จากการสัมผัส หรือการสูดดมไอระเหยก็สามารถทำลายระบบหายใจได้
- อันตรายจากไฟไหม้หรือการระเบิด สารเคมีบางชนิดอาจทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ เป็นสารไวไฟ ติดไฟง่าย และสารเคมีบางชนิดก็อาจทำให้เกิดระเบิดได้เช่นกัน
- มีความเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจ เคมีบางชนิดอาจเป็นไอระเหย ก๊าซ หรือฝุ่น อาจทำให้เกิดอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ
- อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนต่อสภาพแวดล้อม ต่อน้ำ พืช และอาจทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้
- มีความเสี่ยงต่อระบบสืบพันธุ์ สารเคมีบางชนิดอาจทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดได้ หากรับสารเคมีระหว่างตั้งครรภ์
8 ข้อที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
เมื่อต้องทำงานกับสารเคมี จำเป็นต้องมีข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ต้องยึดถือในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ซึ่ง 10 ข้อที่ต้องรู้ จะมีดังนี้
1. รู้จักสารเคมีที่ตัวเองทำงานด้วย
ผู้ที่ทำงานกับสารเคมี จะต้องอ่านเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet) หรือเอกสาร SDS ซึ่งจะเป็นเอกสารที่อธิบายเกี่ยวกับสารเคมีต่าง ๆ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ และอันตรายจากสารเคมีที่เราทำงานด้วย
2. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน PPE
ชุด PPE เช่น ถุงมือ แว่นตา รองเท้า ชุด หน้ากาก และเครื่องช่วยหายใจ เพื่อปกป้องผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจ และต้องใส่ชุดอย่างถูกต้อง
3. ต้องมีระบบระบายอากาศที่เหมาะสม
การทำงานกับสารเคมี พื้นที่จะต้องมีการระบายอากาศได้ดี หรือต้องมีเครื่องมือในการดูดควัน เพื่อป้องกันการสัมผัส สูดดมกับสารเคมีที่เป็นอันตราย
4. ติดฉลากหรือป้ายอันตรายของสารเคมี
การติดฉลากภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้เก็บสารเคมีจะต้องมีความชัดเจนและต้องจำแนกประเภทความอันตราย และห้ามใช้ภาชนะที่ไม่มีฉลาก เนื่องจากอาจทำให้เกิดการปะปนและเป็นอันตรายได้
5. การจัดเก็บสารเคมี
ต้องจำแนกและมีที่จัดเก็บเฉพาะ เช่น สารไวไฟ สารกัดกร่อน และออกซิไดซ์ ซึ่งสารแต่ละประเภทต้องเก็บแยกจากกัน เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ห่างจากแสงแดดและความร้อน
6. เลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง
ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีอย่างหนึ่งที่สำคัญมากคือการสัมผัสกับสารเคมี ห้ามสัมผัสสารเคมีด้วยมือเปล่าเป็นอันขาด ให้ใช้เครื่องมือและสวมใส่ถุงมือตลอดเมื่อต้องสัมผัส ห้ามดมสามเคมีด้วยเช่นกัน
7. การเตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉิน
การทำงานกับสารเคมี จะต้องรู้จักเครื่องมือ เช่น ห้องล้างตัว สถานีล้างตาฉุกเฉิน ถังดับเพลิง และต้องรู้จักแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุสัมผัสกับเคมี หรือสารเคมีเกิดการรั่วไหล
8. มีการฝึกซ้อมอบรมด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
การอบรมด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานเกี่ยวกับการจัดการสารเคมี การใส่ชุด PPE และการตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉิน และพนักงานทุกคนจะต้องเข้ารับการฝึกซ้อมและตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยทุกคน
ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี เป็นสิ่งสำคัญที่พนักงานและผู้ดูแลการทำงานต้องให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้ และให้พนักงานได้ทำงานกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัย ลดโอกาสการเกิดปัญหาทางสุขภาพส่วนตัวของพนักงานแต่ละคนรวมถึงสภาพแวดล้อม
อ่านบทความเพิ่มเติม :
7 ระบบดับเพลิงในอาคาร เพื่อการป้องกันเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคาร
ซ้อมอพยพหนีไฟ สำคัญอย่างไร 7 ขั้นตอนการซ้อมหนีไฟที่จำเป็น
8 วิธีการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน เพื่อมาตรฐานความปลอดภัยที่ดี