ความปลอดภัยในโรงงาน เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะอุบัติเหตุภายในโรงงานอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้การรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มีคุณภาพจากการจ้าง รปภ จากบริษัทรักษาความปลอดภัย และ ระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงาน เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ แล้วระบบรักษาความปลอดภัยภายในโรงงาน มีอะไรบ้าง ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ?
ความสำคัญของระบบรักษาความปลอดภัยภายในโรงงาน
ระบบรักษาความปลอดภัย เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่สำคัญอย่างมากเมื่อตั้งโรงงาน ด้วยเหตุผลดังนี้
- ความปลอดภัยของทรัพย์สิน เพราะภายในโรงงานมักจะมีอุปกรณ์ เครื่องจักร ที่ต้องดูแลเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ภายในโรงงานก็อาจมีของมีค่าที่มีราคาสูง ทำให้การรักษาความปลอดภัย ป้องกันการโจรกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน
- ความปลอดภัยของพนักงาน การตรวจสอบพื้นที่ต่าง ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ และการแจ้งเตือนพนักงานก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกรณีไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น การมีระบบรักษาความปลอดภัยจะช่วยให้พนักงานตอบสนองได้เร็ว ลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตได้
- เป็นกฎระเบียบมาตรฐานความปลอดภัย โรงงานที่มีมาตรฐานรองรับ จำเป็นอย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ซึ่งโรงงานที่มีมาตรฐาน จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยภายในโรงงานมาเป็นอันดับแรกเสมอ และเพื่อความถูกต้องทางกฎหมายด้วยเช่นกัน
- รักษาชื่อเสียง โรงงานที่มีความปลอดภัยสูง นอกจากจะมีมาตรฐานที่สากลยอมรับแล้ว ก็เป็นการรักษาชื่อเสียงชองบริษัทโรงงานตัวเองได้เช่นกัน หากโรงงานไม่ปลอดภัย มีอุบัติเหตุเกิดบ่อยครั้ง นอกจากจะส่งผลเสียต่อลูกค้าแล้ว คุณภาพชีวิตของพนักงานจะต่ำลงและไม่มีใครกล้าเข้ามาทำงานในโรงงาน
8 ระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงานที่ต้องมี เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
เพื่อความปลอดภัยและมาตรฐานของโรงงานสูงสุด ระบบรักษาความปลอดภัยภายในโรงงานที่จำเป็น จะมีดังนี้
1. ระบบกล้องวงจรปิด
เป็นเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่สำคัญกับทุกที่จริง ๆ และเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นรากฐานหลักภายในโรงงาน เพราะการตรวจสอบพื้นที่บริเวณสำคัญ เช่น โซนการผลิต คลังสินค้า จุดทางเข้า-ออก โซนกระจายสินค้า เพื่อความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมงและสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญได้
2. ระบบควบคุมการเข้า-ออก
ไม่ว่าจะเป็นระบบคีย์การ์ด เครื่องสแกนลายนิ้วมือ รหัสการเข้า ซึ่งระบบนี้สามารถบันทึกความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของพนักงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถป้องกันคนนอกเข้าสู่โรงงานได้ที่ไม่ได้รับอนุญาตได้ด้วยเช่นกัน
3. ระบบสัญญาณเตือน
เช่น สัญญาณเตือนไฟไหม้ สัญญาณเตือนการรั่วไหลของวัตถุอันตรายหรือสารเคมี เพื่อให้การอพยพของคนภายในโรงงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายหรืออันตรายต่อชีวิตของพนักงานให้ได้มากที่สุด
4. ระบบตรวจจับและระบบต่อต้านอัคคีภัย
เช่น อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับควัน สปริงเกอร์ดับไฟ และการติดตั้งเครื่องดับเพลิง ถังดับเพลิงไว้ในบริเวณที่จำเป็น เพื่อการดับเพลิงได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของพนักงานโรงงาน
5. ระบบตรวจจับการบุกรุกเข้าพื้นที่
เช่น อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหว เซ็นเซอร์กระจก เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือนบริเวณประตู หน้าต่างหรือรั้ว เพื่อแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้สามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว
6. สิ่งกีดขวางภายนอก
เช่น รั้ว ประตู ไม้กั้นรถ สิ่งนี้จะเป็นการป้องกันด่านแรกในการจำกัดคนเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต และเป็นเหมือนเครื่องมือในการป้องกันการขโมยหรือการโจรกรรมได้ด้วยเช่นกัน
7. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน
ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติ รปภ ตามกฎหมาย เพราะมีการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นอาชีพหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในการดูแลรักษาความปลอดภัยในโรงงานโดยรวม ทำหน้าที่ลาดตระเวน ควบคุมระบบความปลอดภัยต่าง ๆ ในโรงงาน บังคับใช้นโยบายและกฎความปลอดภัยในโรงงาน และการมีอยู่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะเป็นเครื่องมือในการป้องกันผู้บุกรุกและบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตได้
8. การฝึกซ้อมการเผชิญเหตุฉุกเฉิน
ระบบความปลอดภัยในโรงงานจะมีประสิทธิภาพ ต้องมีการฝึกซ้อมด้วย เช่น การซ้อมอพยพ ซ้อมหนีไฟ อุบัติเหตุในโรงงาน และเหตุฉุกเฉินด้านการแพทย์ การฝึกอบรมและซ้อมเป็นประจำ ช่วยให้พนักงานโรงงานสามารถเตรียมพร้อมได้เป็นอย่างดี
สรุป ระบบการรักษาความปลอดภัยภายในโรงงาน เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะนอกจากเรื่องของความปลอดภัยแล้ว มาตรฐานของโรงงานก็เป็นสิ่งที่ควรมีเช่นกัน เพราะเหตุการณ์อันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ และในโรงงานก็เป็นสถานที่หนึ่งที่ต้องได้รับความปลอดภัยสูงสุด
อ่านบทความเพิ่มเติม :
การรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และ รปภ หมู่บ้าน สำคัญอย่างไร
6 ระบบรักษาความปลอดภัยคอนโด ที่เจ้าของคอนโดและลูกบ้านต้องรู้